วันเสาร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ไม้ประจำจังหวัดกาญจนบุรี


ต้นไม้ประจำจังหวัดกาญจนบุรี
ต้นขานาง
ชื่อทั่วไป
- ขานาง
ชื่อสามัญ
- Moulmein Lancewood
ชื่อวิทยาศาสตร์
- Alstonia macrohpylla Wall
วงศ์
- Homalium tomentosum Benth.
ชื่ออื่นๆ
- ค่านาง ช้างเผือกหลวง เปลือย ลิงง้อ,ขานาง , ขางนาง คะนาง, ค่า นางโคด, แซพลู้ , ปะหง่าง , เปื๋อยคะนาง เปื๋อยนาง , เปื๋อยค่างไห้ ,
ถิ่นกำเนิด
- ป่าเบญจพรรณชื้น พบมากในจังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี
ประเภท
- ไม้ยืนต้น
รูปร่างลักษณะ
- เป็นไม้ต้น ผลัดใบ สูง 15-30 เมตร ลำต้นเปลาตรง เปลือกสีเทาขาวนวล เรือนยอดเป็นพุ่ม ทึบ กิ่งอ่อนมีขนสีนำตาล นุ่ม - ใบ เดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปไข่กลับ กว้าง 5- 13 ซม, ยาว 10-20 ซม. ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย - ดอก เล็ก สีเหลืองอ่อน ออกรวมกันเป็นช่อตามง่ามใบและปลายกิ่ง จะ ออกดอกในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคมของทุกปี- ผล เล็ก มีฐานดอกขยายคล้ายปีกติดที่ขั้วผล
การขยายพันธ์
- ขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม
- ชอบดินที่มีหินปูนปนอยู่มาก น้ำและความชื้นปานกลาง ขึ้นในป่า เบญจพรรณชื้น พบมากในเขตจังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี บริเวณที่เป็นเขา หินปูน ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 100-350 เมตร
ประโยชน์
- ลำต้นเป็นสีน้ำตาลอมเหลือง แข็ง และ เหนียว ใช้ทำเครื่องเรือน เสา และด้ามเครื่องมือทำการเกษตร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น